วัฒนธรรม ประเพณีจังหวัดชลบุรี

 ประเพณี นมัสการพระพุทธสิหิงค์งานสงกรานต์ และ งานกาชาด
 
    งาน ประจำจังหวัดชลบุรี เป็นงานประจำปีที่ชาวจังหวัดชลบุรี ได้ร่วมกันจัดติดต่อกัน 

     มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 กิจกรรมของงานได้รวมงาน “นมัสการพระพุทธสิหิงค์ 
งานสงกรานต์ และงาน กาชาด”
 ไว้ด้วยกัน โดยถือเอาประมาณกลางเดือนเมษายน
ของทุกปีเป็นวันจัดงาน ประกอบไปด้วยขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ พิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงโขนของกรมศิลปากร และการแสดงทางวัฒนธรรม
นิทรรศการ และ การออกร้าน เพื่อเป็นการส่งเสริม และรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียม
ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น 

ประเพณีวิ่งควาย
 
    เป็นประเพณีเก่าแก่ตั้งแต่ดั้งเดิมของจังหวัดชลบุรีเมื่อประมาณ 100 ปี เศษมาแล้ว 

   ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ณ วัดใหญ่อินทาราม ได้จัดให้มีเทศน์มหาชาติเป็นงานประเพณี
โดยเจ้าของกัณฑ์เทศน์ ซึ่งส่วนมากเป็นชาวนาและชาวสวนจะใช้ควายเทียมเกวียน
นำเครื่องกัณฑ์ เช่นข้าวเปลือก ข้าวสาร หมาก มะพร้าว กล้วย อ้อย เป็นต้น
บรรทุกสิ่งเหล่านี้มาวัดมีการตกแต่งเกวียนให้แลดูสวยงาม
เป็นต้นว่าหน้าประทุน ร้อยดอกไม้เป็นม่านห้อยและใช้หน่อกล้วยกับต้นอ้อย
ผูกขนาบสองข้าง เมื่อเกวียนเหล่านี้มาพร้อมรวมกันที่วัดโดยมีเกวียน13เล่ม(13กัณฑ์)
มีควายที่ใช้เทียมเกวียน26ตัวจึงมีคนและสัตว์เข้าไปแออัดในวัดเป็นจำนวนมากพอ
เวลาบ่ายคนขับเกวียนก็ชวนกันขี่ควายไปยังสระบัวซึ่งอยู่ห่างวัดเพื่อให้ควายกิน
และอาบขณะจึงเกิดมีคนนึกสนุกท้าผู้อื่นให้ขี่ควายแข่งประลอง
ฝีเท้าดูว่าควายของใครมีฝีเท้าเร็วกว่ากันทั้งนี้ผู้ขี่จะต้องระวังไม่ให้ตัวตกลงมา
จากหลังควายมิฉะนั้นจะถือว่าแพ้เมื่อได้แข่งกันเป็นที่พอใจแล้วขากลับก็เกิดคะนอง
ชวนกันขี่ควายอ้อมตลาดและวิ่งแข่งขันให้คนที่อยู่ในตลาดชมดังนั้นเมื่อถึง
วันขึ้น14ค่ำเดือน11ของปีต่อๆมาควายที่เทียมเกวียนเครื่องกัณฑ์มา
วัดก็นำถูกออกวิ่งในตลาดให้คนชม ต่อมาเจ้าของควายที่อยู่ในตำบลใกล้เคียงนึกสนุก
นำควายของตนมาร่วมวิ่งแข่งบ้างทำให้ผู้คนพากันมาดูความสนุกสนานของงานวิ่งควายมากขึ้น
จนกลาย เป็นประเพณีที่สืบมาจนถึงทุกวันนี้

ประเพณีเทศกาลวันไหล 
 งาน เทศกาลวันไหล คือวันทำบุญขึ้นปีใหม่ของชาวทะเลในช่วงวันสงกรานต์ 
     ภาคตะวันออกนั้นจะแตกต่างจากที่อื่นคือ จะเริ่มเล่นสาดน้ำกัน
ประมาณวันที่ 16 หรือ 17-18-19 เมษายน โดยเรียกกันว่า “วันไหล”
โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น พิธีรดน้ำดำหัว ขบวนแห่วันไหล
การสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานของประชาชน และ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยชาวต่างประเทศ
การทำบุญตักบาตร สรงน้ำ ก่อพระเจดีย์ทราย เล่นสาดน้ำ
และกีฬาพื้นบ้าน ในจังหวัดชลบุรี พื้นที่ที่จัดงานประเพณีวันไหล 
ประเพณีประเพณีกองข้าว 
งาน ประเพณีกองข้าว อำเภอศรีราชา เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชาวเมืองชลบุรี
      ปัจจุบันมีที่อำเภอศรีราชา ที่ยังคงรักษาประเพณีนี้อยู่ โดยจัดให้มีขึ้นเป็นประจำ
วันที่ 19-21 เดือน เมษายน ของทุกปี สถานที่จัด อยู่บริเวณหน้าสำนักงาน 
เทศบาลตำบลศรีราชา และที่บริเวณเกาะลอยศรีราชา กิจกรรมของงานจะ
ประกอบไปด้วย การจัดขบวนแห่ที่นำโดยกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่และหน่วยงานต่าง ๆ
ที่แต่งกายด้วยชุดไทยประจำบ้านเข้าร่วมขบวน พิธีบวงสรวงและเซ่นสังเวยผี
การสาธิต ประเพณีกองข้าว การละเล่นพื้นบ้าน การสาธิตและจำหน่าย ขนมพื้นบ้าน
และอาหารพื้นเมือง